ย้อนกลับไปในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งทัพบุกโจมตีประเทศต่างๆเพื่อแสวงหาทรัพยากรและต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรแดนตะวันตก ด้วยความที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยนั้นเมื่อดูแล้วไม่อาจจะต้านทานในอำนาจของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ เพราะอาจจะทำให้ทางทหารและประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ จึงจำเป็นต้องประกาศเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่น
และยินยอมให้ทางญี่ปุ่นใช้เป็นทางผ่านเพื่อบุกโจมตีประเทศอื่นต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ญี่ปุ่นจึงสร้างค่ายทหารรวมทั้งจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากมายเกิดขึ้นภายในประเทศไทยของเรา ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ในประเทศไทยนั่นก็คือชุมทางรถไฟแก่งคอย ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ซึ่งสามารถสลับรางรถไฟต่อไปได้ทั้งฝั่งจังหวัดลพบุรี ไปที่จังหวัดชัยภูมิ และเข้าภาคอีสานมุ่งหน้าไปทางจังหวัดนครราชสีมา เพื่อมุ่งตรงไปยังเขตชายแดนต่างๆ อันเป็นจุดมุ่งหมายการเดินทางของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และนอกจากนี้มันยังเป็นจุดที่จะใช้ขนถ่ายสินค้าของทางจักรวรรดิญี่ปุ่นผ่านทางแม่น้ำป่าสักได้อีกด้วย ในช่วง สงครามโลกครั้งที่2ประมาณปี พ.ศ. 2482 ถึงปี พ.ศ. 2488
และแน่นอนด้วยความที่ชุมทางรถไฟแก่งคอยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการขนถ่ายบำรุงกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่น มันจึงทำให้บริเวณรอบสถานีรถไฟกลายเป็นสถานที่ที่คึกคัก เจริญรุ่งเรืองซึ่งสามารถมองหลักฐานที่มีมาจนถึงในปัจจุบัน โดยมันก็ตกเป็นเป้าของฝ่ายสัมพันธมิตรในการทิ้งระเบิดเพื่อเข้าทำลายจุดยุทธศาสตร์แห่งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่2เมื่อไหร่ก็ตามที่เครื่องบินจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้บินลงมาโปรยระเบิดใส่บริเวณชุมทางแก่งคอย
ชาวบ้านชาวเมืองที่อยู่ในอำเภอแก่งคอยก็ทำได้เพียงวิ่งหนีเข้าไปหลบภัยในวัดแก่งคอย ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักบริเวณใกล้กับตลาดแก่งคอย โดยเชื่อว่าด้วยบารมีของหลวงพ่อลา เกจิชื่อดังของวัดแก่งคอยแห่งนี้จะช่วยป้องกันภยันตรายจากชาวบ้าน รวมทั้งทหารญี่ปุ่นที่พลอยวิ่งหนีมาหลบภายในวัดตามชาวบ้านไปด้วยได้
ย้อนรอยประวัติศาสตร์เที่ยวสถานที่ สงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะเป็นความจริง เพราะในปัจจุบันยังมีอนุสาวรีย์ซึ่งทำมาจากเศษซากลูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ที่ลงมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่2แต่กลับด้านแล้วไม่ระเบิดขึ้น เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2เหล่าทหารญี่ปุ่นที่รอดชีวิตจึงได้รวมตัวกันสร้างรูปหล่อองค์พระขึ้นเพื่อเป็นการสำนึกถึงบุญคุณของวัดแก่งคอยที่ได้มาหลบภัยในวัดแห่งนี้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอนุสรณ์สถานซึ่งสร้างขึ้นและสลักภาษาญี่ปุ่นเอาไว้เป็นการอนุสรณ์ต่อผู้วายชนม์
ช่วงประมาณปลายเดือนเมษายนของทุกปีอำเภอแก่งคอยจึงได้มีจัดการจัดงานรำลึกย้อนรอยสงครามโลกครั้งที่2 ขึ้นเป็นประจำในทุกปี ชื่องานอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความเหมาะสมในแต่ละปี แต่โดยรวมบรรยากาศซึ่งจะอยู่ภายในวัดแก่งคอยแห่งนี้ จะมีการจำลองภาพในยุคสงครามโลกครั้งที่2
ซึ่งมีทหารญี่ปุ่นเข้ามาประจำการในเมืองแก่งคอย ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงบรรยากาศย้อนยุค รวมทั้งก็จะมีผู้สืบเชื้อสายจากเราทหารญี่ปุ่นผู้รอดตายกลับไปยังประเทศบ้านเกิดรวมทั้งลูกหลานของทหารที่เสียชีวิตอยู่ที่นี่ได้เดินทางกลับมาทำความเคารพอนุสาวรีย์ลำลึกสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งตั้งอยู่ในวัดแก่งคอยแห่งนี้เป็นประจำทุกปี